ความเป็นมาของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในประเทศไทย

ความเป็นมาของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในประเทศไทย

ดร.ณัฏฐ์วรดี คณิตินสุทธิทอง
การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ในปัจจุบันนั้น เป็นพฤติกรรมของผู้บริโภคที่สวนกระแสพฤติกรรมในอดีต กล่าวคือ ในอดีตผู้ป่วยหรือผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพในประเทศที่กำลังพัฒนาจะเดินทางไปยังประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา หรืออังกฤษ เพื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพสูงกว่าในประเทศของตน อย่างไรก็ตามปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันกลายเป็นผู้ที่อยู่ในประเทศพัฒนาแล้วกลับเดินทางออกไปยังประเทศที่กำลังพัฒนาทั่วโลก เพื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพในระดับมาตรฐาน แต่มีราคาที่ต่ำกว่ามาก ตลอดจนยังได้ท่องเที่ยวไปในตัวอีกด้วย ซึ่งประเทศที่เป็นผู้ให้บริการทางสุขภาพในแต่ละภูมิภาคของโลก
          ผลการวิจัยทั้งในอดีตและปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่าประเทศไทย จัดอยู่ในอันดับต้นๆ ของประเทศที่ได้รับความนิยมจากทั่วโลกในการเข้ามาใช้บริการท่องเที่ยวทางการแพทย์ (Das, 2014) เป็นธุรกิจที่สร้างรายได้หลายล้านบาทให้กับประเทศในปี พ.ศ.2552 ซึ่งความสำเร็จในปัจจุบันเริ่มต้นจากการที่ในช่วงปี พ.ศ. 2553 ที่ประเทศมีความเจริญทางเศรษฐกิจเป็นอย่างมาก ระดับรายได้ของประชาชนเพิ่มสูงขึ้น พร้อมกับคุณภาพการใช้ชีวิตก็สูงขึ้นเป็นลำดับ ส่งผลให้ในระยะเวลาเพียง 6  ปี เกิดการก่อตั้งโรงพยาบาลเอกชนขึ้นมารองรับการเติบโตของเศรษฐกิจในช่วงนั้นเพิ่มมากขึ้นถึง 69 โรงพยาบาล จนกระทั่งถึงปี พ.ศ. 2540 ที่ประเทศไทยต้องเผชิญกับวิกฤตเศรษฐกิจครั้งใหญ่ รายได้ของประชาชนลดลงเป็นอย่างมาก ทำให้โรงพยาบาลต้องหากลยุทธ์ต่างๆ มาใช้เพื่อให้อยู่รอดในธุรกิจ หนึ่งในนั้นคือ การหาลูกค้าจากต่างประเทศเข้ามาใช้บริการ ซึ่งโรงพยาบาลบำรุงราษฏร์เป็นโรงพยาบาลแรกที่เริ่มต้นหาลูกค้าชาวต่างชาติให้เข้ามาใช้บริการทางการแพทย์ในประเทศไทย และได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากมาจนถึงปัจจุบัน (Harryono, M., Huang, Y.-F., Miyazawa, K., & Sethaput, 2006)
เมื่อวันที่ 19 สิงหาคม พ.ศ. 2557 นิตยสาร Forb Online ได้ตีพิมพ์เกี่ยวกับการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ ว่าประเทศไทยเป็นประเทศที่มีปริมาณการให้บริการนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์เป็นอันดับหนึ่งของโลก รองลงมาคือประเทศฮังการี อินเดีย สิงค์โปร์ และมาเลยเซีย  (Das, 2014)     
ตารางที่ 2 15 ประเทศที่มีจำนวนนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ไปใช้บริการมากที่สุด
Top 14 Medical Tourist Destinations by Volume of Care
1-Thailand
8-Costa Rica
2-Hungary
9-Brazil
3-India
10-Mexico
4-Singapore
11-South Korea



ตารางที่ 2 (ต่อ)
Top 14 Medical Tourist Destinations by Volume of Care
5-Malaysia
12-Colombia
6-Philippines
13-Belgium
7-United States
14-Turkey
ที่มา : นิตยสาร Forb Online เข้าถึงได้จาก http://www.forbes.com/sites/reenitadas /2014/08/19
/medical-tourism-gets-a-facelift-and-perhaps-a-pacemaker/

เนื่องจากธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์นั้น เป็นธุรกิจที่เกิดจากสองภาคธุรกิจบริการหลัก คือ ภาคธุรกิจบริการทางการแพทย์ และภาคธุรกิจบริการด้านการท่องเที่ยว นอกจากนั้นก็ยังมีภาคธุรกิจอื่นๆ ที่มีสว่นเกี่ยวข้องอีกหลายภาคส่วน ซึ่งสำหรับภาคธุรกิจบริการทางการแพทย์และดูแลสุขภาพนั้น ประกอบไปด้วยโรงพยาบาลเอกชน สถานประกอบการพยาบาล คลินิกเอกชน และผู้ให้บริการด้านการบำรุงรักษาสุขภาพ เช่น สปา นวดแผนไทย ฝังเข็ม สมุนไพร ฯลฯ โดยมีธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนเป็นผู้ขับเคลื่อนสำคัญในธุรกิจนี้ ซึ่งที่ผ่านมากลยุทธ์ที่ธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนไทยนำมาใช้เพื่อความอยู่รอดและสร้างความได้เปรียบในการแข่งขัน คือ การควบรวมกิจการ ซึ่งก่อให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางโครงสร้างธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในประเทศไทยเป็นอย่างมาก
ข้อมูล ณ มิถุนายน 2556 ประเทศไทยมีโรงพยาบาลเอกชนทั้งหมด 326 แห่ง แบ่งเป็นโรงพยาบาลทั่วไป 311 และโรงพยาบาลเฉพาะทาง 15 แห่ง โดยในปี 2555 ผู้ป่วยชาวต่างประเทศที่เข้ามารับการบริการในโรงพยาบาลและสถานพยาบาลเอกชนมีจำนวนทั้งสิ้น 3.0 ล้านราย สร้างรายได้ให้ประเทศไทยประมาณ 70,000 ล้านบาท ในจำนวนนี้ เป็นผู้มารับบริการที่เป็นผู้ป่วยนอกชาวต่างประเทศประมาณร้อยละ 95.2 และผู้มารับบริการเป็น ผู้ป่วยในชาวต่างประเทศประมาณร้อยละ 4.8 (สำนักงานสถิติเศรษฐกิจและสังคม, 2556) ซึ่งหนึ่งในกลยุทธ์การดำเนินธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนในปัจจุบัน คือ การที่เครือโรงพยาบาลเอกชนขนาดใหญ่ ดำเนินการเข้าควบรวมกิจการหรือซื้อกิจการโรงพยาบาลเอกชนอื่นๆ ให้เข้ามาอยู่ภายใต้การดูแลของกลุ่มโรงพยาบาลต่างๆ ที่มีผู้บริหารชุดเดียวกัน เช่น  

1.       กลุ่มกรุงเทพดุสิตเวชการ (โดยนายแพทย์ปราเสริฐ ปราสาททองโอสถ) ซึ่งประกอบด้วย กลุ่มโรงพยาบาลกรุงเทพ, กลุ่มโรงพยาบาลสมิติเวช ได้แก่ โรงพยาบาลในเครือสมิติเวช และโรงพยาบาล BNH, กลุ่มโรงพยาบาลพญาไท, และ กลุ่มโรงพยาบาลเปาโล

2.      กลุ่มเกษมราษฎร์ - บมจ. บางกอก เชน ฮอสปิทอล (โดยน.พ.เฉลิม หาญพาณิชย์)

3.      กลุ่มวิภาวดี (โดยนายชัยสิทธิ์ วิริยะเมตตากุล) ประกอบด้วย โรงพยาบาลในเครือโรงพยาบาลรามคำแหง, โรงพยาบาลในเครือโรงพยาบาลวิภาวดี และโรงพยาบาลวิภา-ราม

4.      กลุ่มธนบุรี (โดยนายแพทย์บุญ วนาสิน) และ (2) กลุ่มโรงพยาบาลบางปะกอก (โดยแพทย์หญิงเจรียง จันทรกมล)

          ในปี พ.ศ. 2557 มีชาวต่างชาติเข้ามาใช้บริการสุขภาพในประเทศไทยมากถึง 1.2 ล้านครั้ง ก่อให้เกิดรายได้ เข้ามาในประเทศไทยมากถึง 107,000 ล้านบาท (กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, 2558) และคาดว่าในปี พ.ศ.2558 จะมีชาวต่างชาติเข้ามาใช้บริการสุขภาพในประเทศไทยประมาณ 2.81 ครั้ง หรือเพิ่มมากขึ้น 10-15 % จากปี พ.ศ. 2557 ซึ่งส่วนหนึ่งเป็นผลจากการขยายการลงทุนของธุรกิจโรงพยาบาลเอกชนทั้งในจังหวัดกรุงเทพมหานคร และพื้นที่ท่องเที่ยวในต่างจังหวัดที่มีศักยภาพ โดยปัจจัยมหาภาคที่อาจมีผลต่อการเพิ่มขึ้นหรือลดลงของนักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ที่จะมาใช้บริการในประเทศไทย ที่ยังไม่สามารถคาดเดาได้ คือ แนวโน้มการถดถอยของสภาวะเศรษฐกิจโลกซึ่งอาจจะส่งผลให้ชาวต่างชาติออกมาใช้บริการสุขภาพนอกประเทศของตนเพิ่มขึ้นหรือน้อยลง (ศูนย์วิจัยกสิกรไทย, 2558)


Comments

Popular posts from this blog

6 บริการเพื่อสุขภาพที่ทำรายได้มหาศาลให้กับการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ - 6 Major Service Driving Medical Tourism

การใช้บริการของนักท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพ (Wellness Tourism Service Seeking)