Posts

ความเป็นมาของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในประเทศไทย

Image
ความเป็นมาของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในประเทศไทย ดร.ณัฏฐ์วรดี คณิตินสุทธิทอง การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ในปัจจุบันนั้น เป็นพฤติกรรมของผู้บริโภคที่สวนกระแสพฤติกรรมในอดีต กล่าวคือ ในอดีตผู้ป่วยหรือผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพในประเทศที่กำลังพัฒนาจะเดินทางไปยังประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา หรืออังกฤษ เพื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพสูงกว่าในประเทศของตน อย่างไรก็ตามปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันกลายเป็นผู้ที่อยู่ในประเทศพัฒนาแล้วกลับเดินทางออกไปยังประเทศที่กำลังพัฒนาทั่วโลก เพื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพในระดับมาตรฐาน แต่มีราคาที่ต่ำกว่ามาก ตลอดจนยังได้ท่องเที่ยวไปในตัวอีกด้วย ซึ่งประเทศที่เป็นผู้ให้บริการทางสุขภาพในแต่ละภูมิภาคของโลก           ผลการวิจัยทั้งในอดีตและปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่าประเทศไทย จัดอยู่ในอันดับต้นๆ ของประเทศที่ได้รับความนิยมจากทั่วโลกในการเข้ามาใช้บริการท่องเที่ยวทางการแพทย์ (Das, 2014) เป็นธุรกิจที่สร้างรายได้หลายล้านบาทให้กับประเทศในปี พ.ศ.2552 ซึ่งความสำเร็จในปัจจุบันเริ่มต้นจากการที่ในช่วงปี พ.ศ. 2...

New Way of Wellness Tourism: Lifestyle transformation (รูปแบบใหม่ของการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ: การเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต)

Image
New Way of Wellness Tourism: Lifestyle transformation  (รูปแบบใหม่ของการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ: การเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต) ดร.ณัฏฐ์วรดี คณิตินสุทธิทอง            ในยุคที่ผู้คนทั่วโลกสามารถเดินทางท่องเที่ยวไปยังจุดหมายปลายทางได้อย่างสะดวกสบายและง่ายดาย การท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ (Wellness Tourism) กลายเป็นรูปแบบการท่องเที่ยวที่ได้รับความนิยมเพิ่มสูงขึ้นทุกๆ ปี และสิ่งที่น่าสนใจคือรูปแบบความต้องการในการดูแลสุขภาพก็มีเพิ่มมากขึั้นตามลำดับ ในการวิจัยของณัฏฐ์วรดี (2015) พบว่ามีการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพรูปแบบใหม่เกิดขึ้น คือ การท่องเที่ยวเพื่อเปลี่ยนวิถีการดำเนินชีวิต (Lifestyle Transformation) นักท่องเที่ยวกลุ่มนี้ มีวัตถุประสงค์หลักของการเปลี่ยนแปลงรูปแบบ วิธีการ แนวคิด ในการใช้ชีวิต โดยมุ่งเน้นที่การสร้างความสมดุลและประสานการทำงานระหว่างร่างกาย จิตใจ และจิตวิญญาณ เพื่อความก้าวหน้าของชีวิตแบบก้าวกระโดด (Quantum Leap) อันเป็นผลมาจากการเปลี่ยนแปลงความคิด จิตใจ อารมณ์ การออกกำลังกาย การรับประทานอาหาร การล้างพิษ การทำสมาธิ การฝึกปรับตัวให...

ปัจจัยการสร้างความได้เปรียบด้านแข่งขันของประเทศในการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ (The Competitive Advantage of Nation in Medical Tourism)

Image
ปัจจัยการสร้างความได้เปรียบด้านแข่งขันของประเทศในการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ ( The Competitive Advantage of Nation in Medical Tourism) ดร.ณัฏฐ์วรดี คณิตินสุทธิทอง องค์ประกอบที่ทำให้ประเทศไทยเกิดความได้เปรียบในการแข่งขันในธุรกิจการท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ประกอบด้วย (1) ปัจจัยที่เป็นองค์ประกอบของประเทศ (Country Factors) ได้แก่ ความสวยงามของภูมิประเทศและสถานที่ท่องเที่ยว ความอบอุ่นของภูมิอากาศที่เหมาะกับการพักผ่อน ความเหมาะสมของค่าใช้จ่ายในการดำเนินชีวิต ความมั่นคงและปลอดภัยภายในประเทศ ความเข้มงดงวดของกฎหมายในประเทศ วัฒนธรรมไทยที่เป็นกันเองและมีจิตบริการสูง ระยะทางในการเดินทางมาประเทศไทย ค่าใช้จ่ายในการเดินทางไม่แพงเกินไป ความสะดวกในการเดินทางมาประเทศไทย ความสะดวกของขั้นตอนการขอเข้าประเทศและขอวีซ่า ความน่าสนใจของ Package ท่องเที่ยว ความสะดวกสบายของโรงแรมหรือที่พัก และชื่อเสียงด้านความอร่อยของอาหารไทย (2) ปัจจัยด้านผู้ให้บริการสุขภาพ (Healthcare Factors) ได้แก่ ระยะเวลาในการรอคอยการรักษาน้อยกว่าประเทศตน ค่ารักษาพยาบาลถูกกว่าเมื่อเทียบกับการใช้บริการที่ประเทศ...

Sleep Salon. เพราะการนอนหลับสำคัญต่อสุขภาพ

Image
Dr.Nutworadee Kanittinsuttitong     เชื่อว่าร้อยทั้งร้อยของผู้หญิงที่เข้าร้านเสริมสวย มักจะอดเคลิ้มไปกับการนอนให้ช่างสระผมไม่ได้ ยิ่งเดี๋ยวนี้การทำงาน การใช้ชีวิตที่เร่งรีบทำให้เกิดความเครียดได้ง่ายๆ การเข้าร้านเสริมสวยแล้วได้สระผมไปด้วยนวดศีรษะไปแถมยังได้ทรงผมถูกใจ ให้สะบัดผมสวยออกจากร้านแบบสบายๆ น่าจะเป็นทางเลือกใหม่ที่ดีทีเดียว       NAP Sleep Salon ไม่ใช่สปา ไม่ใช่ซาลอน แต่มีคอนเซปต์ที่ตรงตามชื่อเลย นั่นคือการสระผมและนวดศีรษะที่สามารถงีบหลับได้นานร่วมชั่วโมง ซึ่ง กรพัฒน์ พรรษา ผู้จัดการร้าน NAP Sleep Salon เล่าว่า      “เราเห็นว่าเดี๋ยวนี้คนเครียดจากการทำงานเยอะมาก แล้วความเครียดเป็นสาเหตุที่ทำให้กล้ามเนื้อหดเกร็ง เลือดไหลเวียนไม่สะดวก ปวดต้นคอ และปวดหลัง เราอยากให้เขาได้ผ่อนคลาย อยากสร้างความแปลกใหม่ให้กับร้านเสริมสวยด้วย ซึ่งบางคนไม่อยากเข้าร้านนวด เพราะออกจากร้านมาอาจจะปวดเมื่อยตัวกว่าเดิม สิ่งที่เราทำคือ บริการนวดผ่อนคลายหนังศีรษะและต้นคอไปพร้อมกับการสระผม 1 ชั่วโมง ซึ่งจะไปกระตุ้นการไหลเวียนเลือด ทำให้รู้สึกป...

โอกาสดีสำหรับนักลงทุน.. กระแสอสังหาริมทรัพย์เพื่อสุขภาพกำลังมาแรง

Image
Demand surging for wellness communities Dr. Nutworadee Kanittinsuttitong As first reported in the 2017  Global Wellness Economy Monitor ,  Wellness Lifestyle Real Estate  represents approximately USD $119B of the USD $3.7T global wellness economy. This rapidly growing sector has historically included residential, hospitality, and mixed-use real-estate developments with wellness-related facilities and services incorporated into their planning, design, and programming. Wellness communities are seeing high consumer demand, according to new research from the Global Wellness Institute due out in January. GWI researchers Ophelia Yeung and Katherine Johnston presented key findings from their report,  Build Well to Live Well , at the Global Wellness Summit being held this week in Palm Beach, Florida. Johnston and Yeung called the report “the most important research we’ve undertaken”. “It’s not just because it’s a hot new industry market – but because it’s abo...

Forest Bathing... ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเทรนด์ใหม่ ที่ไม่ไกลเกินเอื้อมสำหรับผู้ประกอบการไทย

Image
การอาบป่า (Forest Bathing) Forest Bathing... ท่องเที่ยวเชิงสุขภาพเทรนด์ใหม่ ที่ไม่ไกลเกินเอื้อมสำหรับผู้ประกอบการไทย การอาบป่า (Forest Bathing) หรือการอยู่เงียบๆในพื้นที่ที่รายล้อมไปด้วยต้นไม้ เป็นโครงการรณรงค์ด้านสุขภาพแห่งชาติของญี่ปุ่นที่เริ่มส่งเสริมมาตั้งแต่ปี 1982 โดยพบว่าการได้มีโอกาสเดินเล่นในป่าเป็นประจำจะช่วยลดความดัน ลดความเครียด สุขภาพใจแข็งแรง และแก้ปัญหาภูมิแพ้อย่างได้ผล ซึ่งสามารถอธิบายได้ในทางวิทยาศาสตร์ ทั้งจากการได้รับอากาศบริสุทธิ์ การแลกเปลี่ยนจุลินทรีย์ที่มีประโยชน์ในธรรมชาติแล ะน้ำมันที่ต้นไม้ผลิตออกมาเพื่อป้องกันแมลงซึ่งช่วยปรับปรุงระบบภูมิคุ้มกันของเรา การอยู่ท่ามกลางธรรมชาติอย่างสม่ำเสมอช่วยทำให้คุณภาพชีวิตคนดีขึ้นได้จริงๆ น่าสนใจที่ World Economic Forum นำเรื่องนี้มาเผยแพร่ คล้ายกับต้องการจะสื่อไปยังรัฐบาลทุกประเทศว่า การพัฒนาเศรษฐกิจต้องไม่มองแต่เรื่องของตัวเลข และการอนุรักษ์ไม่ใช่การถ่วงความเจริญ หากคือสิ่งจำเป็น # forestbath   # natureheals   # wellnesstourism   # wellbeing   # wellness ดร.ณัฏฐ์วรดี คณิตินสุทธิทอง ...

การใช้บริการของนักท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพ (Wellness Tourism Service Seeking)

Image
การท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพ (Wellness Tourism) คือ เดินทางที่เกี่ยวข้องกับการแสวงหา การบำรุงรักษา หรือการเสริมสร้างสุขภาพที่ดีแก่บุคคล มีขอบเขตครอบคลุมถึงการบริการทั้งหมดที่เป็นการดูแลและปรับปรุงสุขภาพในเชิงป้องกันแบบองค์รวม โดยเป็นทางเลือกและความสมัครใจของผู้ใช้บริการที่จะเลือกใช้บริการส่งเสริมสุขภาพระหว่างการเดินทางไปยังต่างประเทศ (Global Wellness Institute, 2015) นักท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพเลือกใช้บริการส่งเสริมสุขภาพต่างๆ หลากหลายรูปแบบ ในหลากหลายมุมมอง  (Global Wellness Institute, 2014)  โดยสามารถแยกออกได้เป็น บริการส่งเสริมสุขภาพทางร่างกาย เช่น ฟิตเนส อาหารสุขภาพ สปาและเสริมความงาม บริการส่งเสริมสุขภาพด้านจิตใจ เช่น โยคะ ไท่ชี่ บริการส่งเสริมสุขภาพด้านจิตวิญญาณ เช่น สมาธิบำบัด บริการส่งเสริมสุขภาพด้านสังคม เช่น เครือข่ายสังคมฟิตเนส บริการส่งเสริมสุขภาพด้านอารมณ์ เช่น บำบัดอารณ์ กำจัดความเครียด บริการส่งเสริมสุขภาพด้านสิ่งแวดล้อม เช่น บำบัดด้วยป่าไม้ ดร.ณัฏฐ์วรดี คณิตินสุทธิทอง Line ID: nattie_bua E-mail: natworadee@gmail.com