สถานการณ์การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์ [Medical tourism Situation]


สถานการณ์การท่องเที่ยวเชิงการแพทย์


  • มูลค่าตลาดการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพโลกในปี 2549 มีประมาณ 20,000 ล้าน USD (ททท, 2555)  และเพิ่มสูงขึ้นจนถึงประมาณ 38.5 - 55.5 ล้าน USD ในปี พ.ศ 2557 ด้วยการประมาณการว่านักท่องเที่ยวเชิงการแพทย์มีค่าใช้จ่ายต่อคนประมาณ 3,500-5,000 USD ในการเดินทางไปท่องเที่ยวเชิงการแพทย์แต่ละครั้ง  (Woodman, 2015)
  • ในปี พ.ศ. 2557 มีชาวต่างชาติเข้ามาใช้บริการสุขภาพในประเทศไทยมากถึง 1.2 ล้านครั้ง ก่อให้เกิดรายได้ เข้ามาในประเทศไทยมากถึง 107,000 ล้านบาท (กระทรวงการท่องเที่ยวและกีฬา, 2558) และคาดว่าในปี พ.ศ.2558 จะมีชาวต่างชาติเข้ามาใช้บริการสุขภาพในประเทศไทยประมาณ 2.81 ครั้ง หรือเพิ่มมากขึ้น 10-15 % จากปี พ.ศ. 2557
  • ในอดีตผู้ป่วยหรือผู้ที่ต้องการดูแลสุขภาพในประเทศที่กำลังพัฒนาจะเดินทางไปยังประเทศที่พัฒนาแล้ว เช่น สหรัฐอเมริกา หรืออังกฤษ เพื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพสูงกว่าในประเทศของ
  • ปรากฏการณ์ที่เกิดขึ้นในปัจจุบันกลายเป็นผู้ที่อยู่ในประเทศพัฒนาแล้วกลับเดินทางออกไปยังประเทศที่กำลังพัฒนาทั่วโลก เพื่อเข้ารับการรักษาพยาบาลที่มีคุณภาพในระดับมาตรฐาน แต่มีราคาที่ต่ำกว่ามาก ตลอดจนยังได้ท่องเที่ยวไปในตัวอีกด้วย ซึ่งประเทศที่เป็นผู้ให้บริการทางสุขภาพในแต่ละภูมิภาคของโลก
  • ผลการวิจัยทั้งในอดีตและปัจจุบัน แสดงให้เห็นว่าประเทศไทย จัดอยู่ในอันดับต้นๆ ของประเทศที่ได้รับความนิยมจากทั่วโลกในการเข้ามาใช้บริการท่องเที่ยวทางการแพทย์ (Das, 2014)
  • โรงพยาบาลบำรุงราษฏร์เป็นโรงพยาบาลแรกที่เริ่มต้นหาลูกค้าชาวต่างชาติให้เข้ามาใช้บริการทางการแพทย์ในประเทศไทย และได้ประสบความสำเร็จเป็นอย่างมากมาจนถึงปัจจุบัน (Harryono, M., Huang, Y.-F., Miyazawa, K., & Sethaput, 2006)



Comments

Popular posts from this blog

ความเป็นมาของการท่องเที่ยวเชิงสุขภาพในประเทศไทย

6 บริการเพื่อสุขภาพที่ทำรายได้มหาศาลให้กับการท่องเที่ยวเพื่อสุขภาพ - 6 Major Service Driving Medical Tourism

การใช้บริการของนักท่องเที่ยวเชิงส่งเสริมสุขภาพ (Wellness Tourism Service Seeking)